27 เมษายน 2567
โดย น.ส.ชณิตา ทรัพย์เครือญาติ กรรมการ บริษัท สแน็คส์ แฟคทอรี่ จำกัด และผู้เกี่ยวข้อง ชี้แจงให้ข้อมูลแนะนำและกระบวนการผลิตขนมอบแห้งสำหรับสุนัขและแมว ก็ได้มีประชาชนยืนชูป้ายข้อความระบุ “ชาวบ้านหมู่ 3 บ้านยาง ต.สุรนารี ไม่เอาโรงงานอาหารสัตว์” “คัดค้านก่อสร้างโรงงาน” “หยุดสร้างโรงงานในที่ชุมชน” พร้อมวิวาทกันเป็นระยะๆ ซึ่งเรื่องนี้ก่อให้เกิดการชุมนุมและความขัดแย้ง จนปลัดอำเภอต้องคอยห้ามปรามให้การประชุมดำเนินต่อไป
เป็นระยะเวลากว่า 2 ชั่วโมง โดยไม่มีการเสนอข้อยุติใดๆ ที่สามารถช่วยให้สถานการณ์สงบลง จึงสอบถามความเห็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับเรื่องนี้ ผลปรากฏมติเป็นเอกฉันท์ ทุกคนได้พากันแสดงสัญลักษณ์ยกมือคัดค้านไม่ให้สร้างโรงงานในพื้นที่ เนื่องจากที่ตั้งอยู่ใกล้เคียงชุมชน ซึ่งมีหอพัก ร้านอาหารและแปลงเกษตรกรรม มีความกังวลเกี่ยวกับมลพิษด้านสิ่งแวดล้อมในอนาคต จากนั้นก็ได้แยกย้ายกันโดยที่ไม่มีความวุ่นวายแต่อย่างใด
จากการสัมภาษณ์ของชาวบ้าน
น.ส.ฐิติพรรณ ทูโคกกรวด ผู้อยู่ในชุมชนหมู่ 3 บ้านยางใหญ่ ได้กล่าวถึง ความกังวลของโรงงานแห่งนี้ ต้องใช้น้ำในกระบวนการผลิต ปัจจุบันน้ำประปาหมู่บ้านไม่เพียงพอกับการอุปโภคอยู่แล้ว บริโภครวมทั้งระบบโครงข่ายไฟฟ้าขัดข้องบ่อยครั้งที่มีปัญหาอยู่ตลอดเวลา ชาวบ้านจึงกลัวว่าจะมาแย่งทรัพยากรไปใช้ ประเด็นสำคัญชาวบ้านไม่เคยทราบข้อมูลเกี่ยวกับโรงงาน
นายอารีย์ คำล้า ข้าราชการครูโรงเรียนสูงเนิน บอกว่า ตนเกิดและเติบโตใน ต.สุรนารี การรับฟังความเห็นไม่ทั่วถึง และชี้แจงรายละเอียดปัญหาไม่ครอบคลุม หากเกิดผลกระทบหลังโรงงานดำเนินการ ชาวบ้านจะเคลื่อนไหวต่อต้านอย่างรุนแรงเพิ่มมากขึ้น
การชี้แจง ของกรรมการบริษัท สแน็คส์ แฟคทอรี่ จำกัด
ด้านฝั่ง น.ส.ชณิตา กรรมการบริษัท สแน็คส์ แฟคทอรี่ จำกัด ได้ชี้แจงถึงเหตุผลว่า การเริ่มดำเนินกิจการตั้งแต่ปี 2561 ปัจจุบันมีสถานที่ผลิตสินค้าอยู่ที่กรุงเทพมหานคร ปีนี้มีความจำเป็นต้องย้ายสถานที่ผลิต เนื่องจากผู้ก่อตั้งรวมถึงทีมงานส่วนหนึ่งเป็นชาวโคราชตั้งใจกลับมาพัฒนาบ้านเกิด
ซึ่งสินค้าประกอบด้วยเนื้อไก่ เนื้อปลา เนื้อวัว ตับ และหัวใจหมูอบแห้ง โรงงานมีขนาด 360 ตารางเมตร มีเพียงอาคารใช้งานหลักที่ใช้ผลิตสินค้า โดยใช้เครื่องอบไฟฟ้าจำลองพลังงานแสงอาทิตย์เหมือนเตาไมโครเวฟ จำนวน 9 เครื่อง กำลังผลิต 450 กิโลกรัมต่อวัน กระบวนการผลิตตัดแต่งอบแห้งและบรรจุลักษณะสินค้าคล้ายหมูแผ่นหมูแท่ง แต่ไม่ปรุงรสสินค้าที่อบแห้ง สามารถเก็บในที่แห้งและเย็นโดยไม่ใช้สารกันบูด
ส่วนน้ำที่ใช้ล้างเนื้อสัตว์ทำความสะอาดเครื่องครัวผ่านถังดักไขมัน ขนาด 1,000 ลิตร ดักจับไขมันและกองเศษเนื้อสัตว์ เพื่อกรองของเสียอื่นๆ ปล่อยน้ำผ่านการบำบัดลงสู่บ่อพักภายในมีการตรวจสอบคุณภาพน้ำ กรณีน้ำเต็มบ่อพักใช้วิธีสูบออกไม่ให้เล็ดลอดปล่อยสู่ชุมชนอย่างแน่นอน
ผลกระทบที่อาจเกิดจากการผลิต เช่น ขยะสด เราใช้เครื่องย่อยขยะนวัตกรรมเทคโนโลยีจากประเทศออสเตรเลีย กำจัดขยะสดและเศษไขมันจากบ่อดักไขมัน เหลือเพียงขยะแห้งเท่านั้น มีกำลังย่อยขยะได้ 70 กก.ต่อวัน ซึ่งขยะจากการผลิตมีเพียง 20 กก.ต่อวัน สามารถกำจัดปัญหาเศษอาหารและขยะสดสะสมที่อาจก่อให้เกิดกลิ่นเหม็นรบกวนและเป็นแหล่งเพาะเชื้อ ดินที่ย่อยแล้วอุดมไปด้วยสารอาหารจากโปรตีน สามารถนำดินมาใช้ปลูกต้นไม้ภายในบริเวณโรงงาน หรือแจกจ่ายใช้ปลูกพืชผักได้ เราดำเนินการตามกระบวนกฎหมายที่กำหนด ไม่มีเจตนาก่อมลพิษลดทอนคุณภาพชีวิตและเน้นพื้นที่สีเขียวเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม พร้อมนำข้อกังวลไปปรับปรุงให้เป็นที่ยอมรับของทุกฝ่าย
สามารถติดตามต่อได้ที่ : https://www.matichon.co.th/region/news_4547656