30 เมษายน 2567
โรงแรมดิ อิมพีเรียล โฮเทล แอนด์ คอนเวนชั่น เซ็นเตอร์ โคราช ถนนสุรนารายณ์ อ.เมืองนครราชสีมา นายสมชาย วรรธนะสุพร นายกองค์การบริหารส่วนตำบลเมืองคง อ.คง จ.นครราชสีมา จัดการประชุมกลุ่มการจัดการขยะมูลฝอย (cluster) พื้นที่นครราชสีมา ตอนบน ขณะรอผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จำนวน 129 แห่ง พื้นที่ 17 อำเภอ ประกอบด้วย อ.คง อ.โนนไทย อ.โนนแดง อ.แก้งสนามนาง อ.สีดา อ.บ้านเหลื่อม อ.ขามสะแกแสง อ.พระทองคำ อ.โนนสูง อ.เฉลิมพระเกียรติ อ.จักราช อ.บัวใหญ่ อ.บัวลาย อ.ประทาย อ.ชุมพวง อ.เมืองยาง และ อ.ลำทะเมนชัย เข้าร่วมการประชุม และการปรับปรุงข้อตกลงกับ (MOU) ให้เป็นปัจจุบัน
อบต.เมืองคง ได้รับความเห็นชอบจากกระทรวงมหาดไทย ให้หาเอกชนมาร่วมลงทุน ก่อสร้างโรงไฟฟ้ากำจัดขยะมูลฝอยชุมชน โดยใช้ผลิตไฟฟ้า รูปแบบนำขยะมูลฝอย ปริมาณรวมต่อวัน 540 ตัน ใช้ผลิตกระแสไฟฟ้าขนาดไม่เกิน 10 เมกะวัตต์ เพื่อแก้ไขปัญหาการจัดการขยะมูลฝอยให้อยู่ อย่างยั่งยืน และเป็นระเบียบ โดยงบประมาณในการดำเนินงานประมาณ 1,800 ล้านบาท
การแสดงความคิดเห็นของชาวบ้าน
พ.ต.อ.ดำรงศิลป์ ดวงกลาง ข้าราชการตำรวจบำนาญ แกนนำคนโคราชไม่เอาโรงไฟฟ้าขยะพร้อมชาวบ้านที่มีบ้านพัก ละแวกที่ตั้งโรงงาน ต.พะงาด อ.ขามสะแกแสง เดินทางมาคัดค้านการดำเนินโครงการโรงไฟฟ้าขยะ โดยมี พ.ต.อ.สุทธินันท์ คงแช่มดี ผกก.สภ.เมืองนครราชสีมา ดูแลรักษาความสงบเรียบร้อย เพื่อป้องกันการเกิดความวุ่นวายที่อาจเกิดขึ้น และได้นำแผงเหล็กใช้เครื่องกั้นปิดทางเข้าพร้อมคัดกรอง ห้ามผู้ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องผ่านเข้าไปอย่างเด็ดขาด มวลชนร่วม 100 คน แสดงออกถึงความไม่พอใจ โดย มวลชนได้ร้องขอให้ทบทวนการร่วมบันทึกข้อตกลง (MOU)
ต่อมา พ.ต.อ.ดำรงศิลป์ แกนนำได้มีการพูดคุยกับเจ้าของโครงการ เพื่อขออนุญาตเข้าไปสังเกตการณ์ด้านใน แต่ไม่มีคำตอบ
พ.ต.อ ดำรงศิลป์ เผยว่า โรงงานตั้งอยู่ใกล้ชุมชน และแหล่งน้ำสาธารณะใช้อุปโภค บริโภค จึงกลัวผลกระทบสิ่งแวดล้อม ไม่ว่าจะเรื่องกลิ่นเหม็น น้ำเสียและมลพิษควันท่อไอเสียจากรถขนขยะที่ต้องเข้าไปเทขยะวันละ 100 เที่ยว ได้ร้องขอให้ไปสร้างที่อื่น แต่ไม่ได้ผล จึงรวมตัวยื่นหนังสือพร้อมรายชื่อชาวบ้าน 2,666 คน กับผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา และ รัฐมนตรีว่าการ กระทรวงมหาดไทย รวมทั้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง แต่ผู้มีอำนาจไม่ยอมฟังเสียงชาวบ้านแต่อย่างใด อนุญาตให้ดำเนินโครงการต่อ
เหตุการณ์เมื่อปี 2565
เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม 2565 ชาวบ้านในพื้นที่ ได้มีการคัดค้านจนไม่สามารถดำเนินการต่อไปได้ ต้องมาขอใช้พื้นที่ อบต.โนนไทย อ.โนนไทย แต่ก็ถูกชาวบ้านรวมตัวคัดค้านอีกครั้ง เนื่องจากกระบวนการนั้นไม่ชอบมาพากล ทางจังหวัดนครราชสีมาจึงมีคำสั่งไม่ให้ดำเนินโครงการ
ต่อมา อบต.เมืองคง และบริษัทเอกชนได้ทำการย้ายโครงการมาที่ ต.พะงาด อ.ขามสะแกแสง และจัดการประชุมรับฟังความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้ ส่วนเสียที่หอประชุม อำเภอขามสะแกแสง มีชาวบ้านเข้าร่วมประชุมกว่า 1 พันคน เปิดโอกาสให้กลุ่มเห็นต่าง ซึ่งเป็นห่วงปัญหาสิ่งแวดล้อมแสดงความคิดเห็น โดยทางเจ้าหน้าที่ตำรวจและอาสาสมัครรักษาดินแดน (อส.) ได้รักษาความสงบ ขอให้กลุ่มผู้ประท้วงออกมาหอประชุม ซึ่งเหลือเพียงชาวบ้าน 200-300 คน อ้างว่าเป็นผู้มีส่วนได้ ส่วนเสีย เนื่องจากมีบ้านพักและที่ทำกินในระยะไม่เกิน 3 กิโลเมตร ยกมือเห็นชอบให้ดำเนินโครงการ
สามารถติดตามต่อได้ที่ : https://www.facebook.com/story.php?story_fbid=458362753525513&id=100080553753262&mibextid=WC7FNe&rdid=YrktHJihwYs5X5Un
https://www.koratdaily.com/blog.php?id=16705