12 มิถุนายน 2567
ผลการวิจัยจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีนันยางของสิงคโปร์ เผยว่า ชาวเอเชียมีจำนวนผู้เสียชีวิตก่อนวัยอันควรมากที่สุดในโลก เนื่องจากฝุ่นมลพิษทางอากาศ PM 2.5 ที่เพิ่มมากขึ้นอย่างรุนแรงในช่วง 40 ปีที่ผ่านมา
ปริมาณฝุ่นละอองขนาดเล็ก หรือ PM 2.5 ในอากาศที่เพิ่มมากขึ้น กำลังเป็นปัญหาสะสมรุนแรง โดยเฉพาะในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่ต้องเผชิญกับสภาพอากาศหลักๆ 3 รูปแบบ ทำให้สถานการณ์มลพิษทางอากาศยิ่งเลวร้ายลง
PM 2.5 และผลกระทบต่อสุขภาพ
การศึกษาของนักวิจัยจาก มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีนันยางในสิงคโปร์ พบว่า ปริมาณ PM 2.5 ในอากาศที่เพิ่มขึ้นในช่วง 40 ปีที่ผ่านมา มีความเกี่ยวข้องกับการเสียชีวิตก่อนวัยอันควรของผู้คนราว 135 ล้านคนทั่วโลก โดยทวีปเอเชียเป็นทวีปที่มีผู้เสียชีวิตก่อนวัยอันควรด้วยมลพิษ PM 2.5 มากที่สุดในโลกในช่วงปี 1980-2020
PM 2.5 เป็นมลพิษที่มากับหมอกควันข้ามแดน อนุภาคเหล่านี้เล็กกว่าเส้นผมประมาณ 30 เท่า ทำให้เป็นอันตรายต่อสุขภาพเมื่อสูดดมเข้าไป นอกจากนี้ ฝุ่นมลพิษยังเกิดจากควันเสียของรถยนต์ โรงงานอุตสาหกรรม และแหล่งที่มาธรรมชาติ เช่น ไฟป่า และพายุฝุ่น
PM 2.5 เป็นมลพิษที่มักจะมากับหมอกควันข้ามแดน โดยมีอนุภาคซึ่งเล็กกว่าเส้นผมโดยเฉลี่ยประมาณ 30 เท่า เป็นอันตรายต่อสุขภาพของผู้คนเมื่อสูดดมเข้าไป นอกจากนี้ฝุ่นมลพิษยังเกิดจากควันเสียของรถยนต์ โรงงานอุตสาหกรรม เช่นเดียวกับแหล่งที่มาจากธรรมชาติ อย่างเช่น ไฟป่า และพายุฝุ่น
ทีมนักวิจัยจาก NTU ยังระบุว่า ปรากฏการณ์ธรรมชาติอย่างเอลนีโญจะทำให้สถานการณ์ฝุ่น PM 2.5 เลวร้ายลงอีก เพราะจะเพิ่มความเข้มข้นของอนุภาคในอากาศ
โดยการศึกษาครั้งนี้ ได้นิยามการเสียชีวิตก่อนวัยอันควร หมายถึง การเสียชีวิตที่เกิดขึ้นเร็วกว่าที่คาดไว้ โดยพิจารณาจากอายุขัยเฉลี่ย ซึ่งการเสียชีวิตดังกล่าวมาจากสาเหตุที่ป้องกันหรือรักษาได้ เช่น โรคต่างๆ รวมถึงปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม
สามารถติดตามต่อได้ที่ : https://www.thairath.co.th/news/foreign/2792552
https://www.youtube.com/watch?v=_M9QWmqoRIs