8 กุมภาพันธ์ 2567
สื่อท้องถิ่นในประเทศญี่ปุ่น ได้เผยข้อมูล น้ำปนเปื้อนวัสดุกัมมันตรังสี ปริมาณราว 5.5 ตัน รั่วไหลออกมาจากอุปกรณ์ที่โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมะ ไดอิจิ ของประเทศญี่ปุ่น
รายงานเบื้องต้น
โตเกียว อิเล็กทริก พาวเวอร์ คอมปานี (TEPCO) ระบุว่า คนงานพบน้ำรั่วไหลออกมาจากอุปกรณ์ที่ใช้กรองน้ำปนเปื้อนนิวเคลียร์ระหว่างการตรวจสอบอุปกรณ์ เมื่อเวลาประมาณ 08.53 น. ของวันพุธที่ 7 กุมภาพันธ์ ตามเวลาท้องถิ่น
บริษัทเทคโนโลยีไฟฟ้า ที่เป็นผู้ดำเนินงานโรงไฟฟ้านี้ ประเมินว่า ปริมาณน้ำที่รั่วไหลอยู่ที่ประมาณ 5.5 ตัน โดยน้ำอาจปนเปื้อนวัสดุกัมมันตรังสี เช่น ซีเซียมและสตรอนเชียม อยู่ราว 2.2 หมื่นล้านเบ็กเคอร์เรล รายงาน ระบุว่า น้ำที่รั่วไหลทั้งหมดได้แทรกซึมลงสู่พื้นดิน และจากการเฝ้าติดตามช่องทางระบายน้ำใกล้เคียง ไม่พบการเปลี่ยนแปลงของระดับกัมมันตรังสี โดยบริษัทได้ทำการปิดพื้นที่ที่น้ำรั่วไหลเป็นพื้นที่ห้ามเข้า
จากการตรวจสอบข้อมูลของโรงงานไฟฟ้า
โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมะ เคยเผชิญกับสึนามิและแผ่นดินไหวขนาด 9.0 ริชเตอร์ตามมาตราแมกนิจูด เมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2564 และได้รับความเสียหายจากการหลอมละลายของแกนหลัก และการปล่อยกัมมันตรังสีออกมา ซึ่งถือเป็นอุบัติเหตุนิวเคลียร์ ระดับ 7 สูงสุดในมาตราระหว่างประเทศว่าด้วยเหตุการณ์ทางนิวเคลียร์ (INES)
โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมะ ได้ผลิตน้ำปนเปื้อนวัสดุกัมมันตรังสีปริมาณมหาศาล จากการหล่อเย็นเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ในอาคารเตาปฏิกรณ์ ซึ่งถูกเก็บอยู่ในถังที่โรงไฟฟ้า
ประเทศญี่ปุ่นเริ่มปล่อยน้ำเสียจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมะลงสู่มหาสมุทรแปซิฟิก เมื่อเดือนสิงหาคม 2566 แม้มีการต่อต้านจากรัฐบาล ชุมชนต่างๆ หน่วยงานสิ่งแวดล้อม เอ็นจีโอ และกลุ่มเคลื่อนไหวต่อต้านนิวเคลียร์ในประเทศญี่ปุ่น ประเทศเพื่อนบ้าน และภูมิภาคแปซิฟิก
สามารถติดตามต่อได้ที่ : https://m.facebook.com/photo.php?fbid=910497614414536&set=a.746740320790267&type=3
https://www.thairath.co.th/news/foreign/2761665 /
https://www.matichon.co.th/foreign/news_4415961