Home » การกำจัดของเสียอันตราย กรณีศึกษา บริษัท เอกอุทัย และ วิน โพรเสส

การกำจัดของเสียอันตราย กรณีศึกษา บริษัท เอกอุทัย และ วิน โพรเสส

by pam
15 views
1.เปิดขุมทรัพย์ เอกอุทัย

19 มิถุนายน 2567

ราคาค่าบำบัดหรือกำจัดที่ถูกกว่าราคาตลาดมากเป็นเหตุผลสำคัญที่ทำให้โรงงานรีไซเคิลในนาม บริษัท เอกอุทัย ยังคงได้รับของเสียจากโรงงานผู้ก่อกำเนิดของเสียมาโดยตลอด แม้ว่าชื่อของทั้ง เอกอุทัยและวิน โพรเสส จะถูกพูดถึงในฐานะโรงงานที่มีปัญหาก่อมลพิษจากการลักลอบทิ้งกากของเสียอันตรายมาอย่างยาวนาน และถูกพิสูจน์ยืนยันแล้วว่ามีความเชื่อมโยงเกี่ยวข้องกันผ่านกรรมการที่ชื่อว่า โอภาส บุญจันทร์

พบความเชื่อมโยง 2 โกดังเก็บสารเคมีไฟไหม้ เอกอุทัย ภาชีวิน โพรเสส ระยอง

การตรวจสอบใบเสนอราคาซึ่งเป็นหลักฐานสำคัญว่า ถูกกว่าราคาตลาดมาก จำเป็นต้องทบทวนสถานะของเอกอุทัยและวิน โพรเสส เพื่อให้เห็นภาพชัดขึ้น

3.เปิดขุมทรัพย์ เอกอุทัย

สถานะตามกฎหมายของโรงงาน

โรงงาน วิน โพรเสส มีทั้งหมด 2 แห่งได้แก่

  1. แห่งแรกตั้งอยู่ที่ อ.เมือง จ.ระยอง
  2. แห่งสองตั้งอยู่ที่หนองพะวา อ.บ้านค่าย

ถ้านับเฉพาะ วิน โพรเสส ที่หนองพะวา จะพบว่า มีใบอนุญาตที่ดำเนินการได้ 2 ใบ คือ ลำดับที่ 40 (บดอัดกระดาษ) และลำดับที่ 60 (หล่อหลอมโลหะ) ซึ่งต่างจากของเสียอันตรายที่พบในโรงงาน ซึ่งต้องถูกส่งไปยังโรงงานลำดับที่ 101 (กำจัดของเสียอันตราย) หรือ ลำดับที่ 106 (รีไซเคิล) จึงจะถูกต้อง ดังนั้น วิน โพรเสส ที่ อ.บ้านค่าย ไม่มีใบอนุญาตที่สามารถรับของเสียอันตรายเหล่านี้ได้

ส่วน วิน โพรเสส ที่ อ.เมือง จ.ระยอง มีใบอนุญาตทั้งลำดับที่ 105 (คัดแยกขยะ) และลำดับที่ 106 (รีไซเคิล) โดยในฐานข้อมูลระบุว่า ประกอบกิจการคัดแยกวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว ซ่อม และล้างถังด้วยตัวทำละลาย และนำตัวทำละลายที่ใช้แล้วผสมกับน้ำมันที่ใช้แล้ว เพื่อใช้เป็นเชื้อเพลิงทดแทนหมายความว่า นี่เป็นโรงงานที่สามารถรับน้ำมันที่ใช้แล้วมารีไซเคิลได้

ดังนั้น ขอเน้นย้ำว่า โรงงาน วิน โพรเสส ที่ อำเภอบ้านค่าย ไม่มีสถานะที่จะรับกากของเสียอันตรายในทุกกรณี ส่วนโรงงาน วิน โพรเสส ที่ อำเภอเมือง จังหวัดระยอง สามารถรับล้างภาชนะที่ปนเปื้อนได้โดยมีใบอนุญาตรีไซเคิล” (106)

สำหรับบริษัท เอกอุทัย 3 สาขา มีใบอนุญาตดังนี้

1. สาขาอำเภออุทัย มีใบอนุญาตลำดับที่ 105 (คัดแยกขยะ ฝังกลบของเสียไม่อันตราย) และ 106 (รีไซเคิล)

2. สาขากลางดง มีใบอนุญาตลำดับที่ 101 (เตาเผา) ซึ่งขณะนี้ถูกสั่งปิด

3. สาขาอำเภอศรีเทพ มีใบอนุญาตลำดับที่ 105 (ฝังกลบของเสียไม่อันตราย)

สถานะปัจจุบันแสดงให้เห็นว่า มีเพียงสองโรงงานที่สามารถรับของเสียอันตรายมารีไซเคิลได้ นั่นคือ เอกอุทัย พระนครศรีอยุธยา (106) และ วิน โพรเสส อ.เมือง ระยอง (106) ส่วนโรงงานเอกอุทัยที่กลางดง (101) มีสถานะเป็นเตาเผา ไม่ใช่โรงงานรีไซเคิล

4.เปิดขุมทรัพย์ เอกอุทัย

การตรวจสอบและข้อเสนอแนะ

อย่างไรก็ตาม ของเสียอันตรายที่พบมากและสร้างปัญหาอย่างหนักอยู่ที่ วิน โพรเสส บ้านค่าย โกดังภาชี (ไม่ใช่โรงงาน) และเอกอุทัย ศรีเทพ (ฝังกลบ) ซึ่งสันนิษฐานว่าเป็นจุดทิ้งของเสียแบบไม่มีต้นทุน ของเสียที่พบเกือบทั้งหมดมีสภาพเป็นกรด

แม้จะมีใบเสนอราคาสำหรับกากของเสียอันตรายชนิดอื่นๆ เช่น กากสี ภาชนะปนเปื้อนสารเคมี ตะกอนจากบ่อพักน้ำเสีย และกากตะกอนจากการขัดบ่อแก้วกระจก ที่สามารถยืนยันได้ว่า บริษัท เอกอุทัย พระนครศรีอยุธยา เสนอราคารับของเสียมาบำบัดในราคาที่ต่ำกว่าราคาตลาดมาก แต่ผู้เชี่ยวชาญในวงการการกำจัดของเสียอันตรายยืนยันว่า ของเสียที่มีราคาบำบัดหรือกำจัดแตกต่างจากราคาจริงมากที่สุด คือ กรด

ผู้เชี่ยวชาญในวงการรับกำจัดของเสียอันตรายระบุว่า ของเสียที่พบมากที่สุดในถัง 200 ลิตร และถัง 1,000 ลิตร ซึ่งถูกทิ้งไว้ในโรงงาน วินโพรเสส และเอกอุทัย หรือแม้แต่ในโกดังภาชี คือ ของเสียประเภทกรด

สามารถตรวจสอบเอกสารได้ในวงการรับกำจัดของเสียอันตรายรู้กันดีว่า เอกอุทัย เป็นบริษัทที่รับซื้อกรด ไปในราคาที่ถูกมาก พวกเขารับซื้อในราคาต่ำที่สุดแค่ตันละ 1,800 บาทเท่านั้น หรืออย่างมากไม่เกินตันละ 2,200 บาท ทั้งที่ในการกำจัดกรดมีต้นทุนสูง ราคาตลาดสำหรับการรับกำจัดต่ำที่สุดไม่น้อยกว่าตันละ 10,000 บาท หมายความว่า เอกอุทัยรับกำจัดกรดในราคาที่ต่ำกว่าที่อื่นถึงประมาณตันละ 8,000 บาท

กรดเป็นสารที่ใช้กันมากในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับเหล็กและการชุบโลหะ เช่น อุตสาหกรรมรถยนต์ โดยโรงงานเหล่านี้จะใช้กรดในการกัดโลหะเพื่อให้ได้สีเดิมของมัน ในโรงงานที่มีมาตรฐานสูงจะใช้กรดในการชุบโลหะประมาณ 2 ครั้ง แต่ในโรงงานส่วนใหญ่จะใช้กรดจนเปอร์เซ็นต์ความเป็นกรดต่ำจนกัดไม่ได้อีก ซึ่งกรดส่วนใหญ่จะถูกส่งไปกำจัดมากกว่าที่จะถูกส่งไปเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลอีก เพราะกรดที่ใช้แล้วแทบไม่เหลือความเป็นกรดพอที่จะนำไปรีไซเคิลได้อีก การกำจัดกรดสามารถทำได้หลายวิธี โดยมีค่ากำจัดตั้งแต่ตันละ 10,000 – 20,000 บาท

ต้องยอมรับว่ามีโรงงานประมาณ 2-3 แห่ง ที่มีศักยภาพในการรีไซเคิลกรดได้ และรับกรดมาในราคาประมาณ 2,000 บาทต่อตัน ซึ่งใกล้เคียงกับราคาที่ บริษัท เอกอุทัย รับมาผู้เชี่ยวชาญในวงการรับกำจัดกากของเสียอันตรายกล่าวแต่นี่ไม่ใช่เรื่องที่ตรวจสอบได้ยาก เพราะโรงงานที่สามารถรีไซเคิลกรดได้ จะรับกรดจากกลุ่มอุตสาหกรรมชุบโลหะที่มีมาตรฐานสูงซึ่งใช้กรดไปกัดโลหะแค่ 1-2 ครั้งเท่านั้น และยังต้องตรวจสอบคุณภาพกรดที่จะรับมาก่อนว่าเหลือเปอร์เซ็นต์มากพอที่จะนำไปรีไซเคิลเป็นกรดเกรดต่ำเพื่อนำมาขายต่อในราคาที่คุ้มกับต้นทุนหรือไม่

ผู้เชี่ยวชาญกล่าวเพิ่มเติมว่า ไปตรวจสอบได้เลยว่า เอกอุทัยที่อยุธยา มีเครื่องจักรที่สามารถรีไซเคิลกรดได้จริงหรือไม่ แต่ที่แน่ๆ คือ มีข้อมูลว่าได้รับกรดมาโดยอ้างว่าจะนำไปรีไซเคิลเป็นจำนวนมาก จากการตรวจสอบในระบบของกรมโรงงานอุตสาหกรรม พบว่าบริษัท เอกอุทัย สาขา อ.ภาชี จ.พระนครศรีอยุธยา มีข้อมูลการรับสารเคมีประเภทกรดเข้ามาในโรงงานเพื่อนำไปกำจัดด้วยวิธีรีไซเคิลตั้งแต่ปี 2558 จนถึงช่วงที่โรงงานถูกสั่งปิดเมื่อปี 2566 รวมเป็นปริมาณ 89,700 ตัน

ประเด็นนี้ต้องตั้งคำถามกับระบบของกระทรวงอุตสาหกรรมด้วย เพราะในวงการรู้กันดีอยู่แล้วว่า กรดเป็นสารที่แทบจะไม่ถูกนำไปเข้ากระบวนการรีไซเคิล หรือหากมีโรงงานที่จะทำได้ก็ต้องรับกรดมาจากโรงงานที่มีมาตรฐานสูง และผู้รับรีไซเคิลก็ต้องมีเครื่องมือที่สามารถทำได้จริงเท่านั้น แต่ระบบของเรากลับไปเปิดช่องไว้ว่า แค่มีใบอนุญาตรีไซเคิลก็สามารถแจ้งขอรับกรดเข้ารีไซเคิลได้ในราคาที่ถูกกว่าค่ากำจัดหลายเท่า เป็นช่องโหว่ที่ใหญ่มากๆ

จากข้อมูลที่เราเห็นกัน เอกอุทัยรับกรดไป 89,700 ตัน ในราคาตันละ 1,800 – 2,200 บาท จากราคาค่ากำจัดขั้นต่ำที่สุดตันละ 10,000 บาท กรดส่วนมากจึงไม่ถูกส่งไปกำจัดอย่างที่ควรจะเป็น นี่เป็นเหตุผลที่เราพบกรดจำนวนมากอยู่ในรายการสารเคมีที่ถูกลักลอบทิ้ง ผู้เชี่ยวชาญกล่าวทิ้งท้าย

2.เปิดขุมทรัพย์ เอกอุทัย

สามารถติดตามต่อได้ที่ : https://mgronline.com/onlinesection/detail/9670000052473

https://mgronline.com/onlinesection/detail/9670000052107

https://mgronline.com/onlinesection/detail/9670000038124

เว็บไซต์อันดับ 1 ด้านความปลอดภัยในการทำงาน

Copyright @2024  All Right Reserved – Designed and Developed by safety inside