Home » การจัดการกับปัญหา การลักลอบทิ้ง “กากของเสียอุตสาหกรรม” ในประเทศไทย

การจัดการกับปัญหา การลักลอบทิ้ง “กากของเสียอุตสาหกรรม” ในประเทศไทย

by pam
22 views
1.กากของเสียอุตสาหกรรม

14 มิถุนายน 2567

การลักลอบทิ้งกากของเสียอุตสาหกรรมยังคงเป็นปัญหาในหลายพื้นที่ ทำให้เกิดผลกระทบรุนแรงต่อสิ่งแวดล้อมและสร้างความเดือดร้อนให้กับประชาชนอย่างมาก ความเสียหายที่เกิดขึ้นนั้นมักยากจะฟื้นฟูให้กลับมาเหมือนเดิมได้

สาเหตุของการลักลอบทิ้งกากของเสีย

ปริมาณกากของเสียที่มีมากเกินความสามารถจะกำจัดได้โดยในแต่ละปีมีกากของเสียทั้งอันตรายและไม่อันตรายรวมกันถึง 20 ล้านตัน แต่ระบบรองรับการกำจัดได้เพียง 3-4 แสนตันเท่านั้น ผู้ประกอบการบางรายพยายามลดค่าใช้จ่ายที่สูงในการกำจัดกากของเสียซึ่งเฉลี่ยอยู่ที่ 10,000-20,000 บาท/ตัน ทําให้มีผู้รับจ้างขนส่ง และรับกำจัดแบบผิดกฎหมายเกิดขึ้นนี้

ธนาธร ตรงสิทธิวิทู ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมการจัดการเพื่อสิ่งแวดล้อม สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ปัจจุบันประเทศไทยมีกากอุตสาหกรรมจากโรงงานประเภทต่างๆ ทั่วประเทศ 20 ล้านตัน/ปี และกากของเสียอันตราย 1.5 ล้านตัน/ปี กากของเสียเหล่านี้ต้องเข้าสู่การกำจัด หรือบำบัดในโรงงานที่ได้รับอนุญาต 3 ประเภท คือ ใบอนุญาตโรงงานลำดับที่ 101, 105, และ 106

โรงงานที่ไม่ดีมีอยู่ประมาณ 1% ของทั้งหมด ซึ่งทำธุรกิจแบบไม่รับผิดชอบและก่อมลพิษอย่างกว้างขวาง รัฐบาลจึงได้ปรับปรุงประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่องการจัดการสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว พ..2566 ด้วยการนำหลักการผู้ก่อมลพิษเป็นผู้รับผิดชอบกำหนดภาระตั้งแต่ต้นทางโรงงานผู้ก่อกำเนิดไปจนกว่าสิ่งปฏิกูลจะถูกจัดการจนเสร็จเรียบร้อยมีผลบังคับ ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2566

อย่างไรก็ตาม ยังคงมีกรณีของโรงงานที่มีการรับกำจัดกากด้วยต้นทุนต่ำ เช่น บ.วินโพรเสส จ.ระยอง หรือ บ.เอกอุทัย จ.พระนครศรีอยุธยา ซึ่งโรงงานแทบไม่มีเครื่องจักร อุปกรณ์เครื่องไม้เครื่องมือ ในการประกอบกิจการบำบัดกำจัดกากของเสียอุตสาหกรรมเลยด้วยซ้ำ

แต่ว่าผู้ประกอบการมักคิดเพียงต้องเก็บกากของเสียให้ได้มากที่สุด เพราะถ้าดูตัวเลขจากมูลนิธิบูรณะนิเวศนั้นากของเสียเข้ามายังวินโพรเสสฯและเอกอุทัยฯในปี 2554-2563 รวม 42 ล้าน กก. หรือ 4 หมื่นตัน หากคำนวณค่ากำจัด 1,000 บาท/ตัน จะมีรายได้อยู่ที่ 40 ล้านบาท และคิดตันละ 2,000 บาท จะได้เงิน 80 ล้านบาท

การบำบัดกากของเสียอุตสาหกรรมนั้นมีต้นทุนสูงมาก เนื่องจากต้องใช้เทคโนโลยีเครื่องจักรที่ทันสมัยและมีประสิทธิภาพ เช่น โรงงานรีไซเคิลกรดหรือสารระเหย เพื่อรีไซเคิลนำออกไปใช้งานใหม่ได้จริง บางโรงงานที่ไม่มีเครื่องจักรและอุปกรณ์ที่เพียงพอ ทำให้เกิดการลักลอบกำจัดกากของเสียแบบผิดวิธี ซึ่งส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างรุนแรง การแก้ปัญหาภายหลังต้องมีค่าใช้จ่ายสูงในกระบวนการบำบัดฟื้นฟู

4.กากของเสียอุตสาหกรรม

ตัวอย่างปัญหาและการแก้ไขในต่างประเทศ

ในสหรัฐฯ มีกฎหมายควบคุมโรงงานกำจัดกากอย่างเข้มงวด เช่น บริษัทรับฝังกลบแม้ผ่านไป 20 ปี ปีหากเกิดปัญหาของเสียรั่วซึมสู่ชุมชนสามารถฟ้องร้องได้ทั้งบริษัทกำจัดกาก และบริษัทผู้ก่อกำเนิดด้วยซ้ำ ทางประเทศไทยจึงควรปรับปรุงระบบควบคุมเช่นกัน โดยโรงงานทุกประเภทต้องปฏิบัติตามประกาศกระทรวงอุตสาหกรรมปี 2566 เพื่อให้มั่นใจว่าโรงงานที่รับกำจัดกากมีศักยภาพในการดำเนินการ

การขออนุญาตเคลื่อนย้ายกากอุตสาหกรรมในประเทศไทยมีจำนวนมาก อาจใช้เทคโนโลยีในการตรวจสอบและอนุมัติ เช่นเดียวกับเยอรมนี ใช้เทคโนโลยีมาช่วยตรวจสอบการอนุมัติให้รหัสประเภทของเสียขออนุญาตตรงกับรหัสโรงงานปลายทาง ในส่วนเจ้าหน้าที่จะตรวจสอบโรงงานรับกำจัด กากอุตสาหกรรมประเมินศักยภาพเพื่อให้ตรงตามที่ขอจดแจ้งจัดตั้งโรงงานนั้น

หากโรงงานไม่มีศักยภาพ มีข้อบกพร่อง หรือรับกากของเสียไม่ตรงตามการขอจดแจ้งประกอบกิจการจะสั่งระงับ หรือยกเลิกใบอนุญาตทันทีดังนั้น ประเทศไทยอาจต้องตั้งสายด่วนรับเรื่องร้องเรียนการลักลอบทำผิดกฎหมายทิ้งกากอุตสาหกรรมแล้วมีทีมม้าเร็วออกตรวจสอบตามที่ได้รับแจ้งนั้น

ข้อเสนอแนะแนวทางแก้ปัญหาในอนาคต

  1. การสำรวจและประเมินศักยภาพของโรงงานกำจัดกากของเสีย: ควรมีการสำรวจและประเมินศักยภาพของโรงงานกำจัดกากของเสียก่อนที่จะอนุญาตให้ดำเนินการ
  2. การติดตั้งระบบ GPS: เพื่อติดตามรถขนส่งกากของเสียด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ผ่านแอปพลิเคชัน ตั้งแต่วันเวลาที่ส่งข้อมูลของเสียที่จะขนถ่าย ความเร็ว ทิศทางการเดินทางที่เริ่มแจ้งนำของเสียออกนอกโรงงานจนเข้าสู่แหล่งกำจัดกากสามารถเช็กตำแหน่งรถขนส่งได้ 24 ชม. (Real Time) เพื่อป้องกันการลักลอกทิ้งกาก
  3. การมีส่วนร่วมของประชาชน: การรับฟังและแก้ไขปัญหาที่ประชาชนร้องเรียนเกี่ยวกับปัญหาสิ่งแวดล้อม
  4. การออกใบรับรองมาตรฐาน: การออกใบรับรองมาตรฐานให้กับโรงงานที่ปฏิบัติตามกฎหมายสามารถช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถเลือกใช้บริการได้อย่างมั่นใจ

3.กากของเสียอุตสาหกรรม

ดังนั้น เมื่อเกิดการปนเปื้อนจำเป็นต้องฟื้นฟูด้วยขั้นตอนตามนี้

1 สำรวจข้อมูลพื้นฐานสารเคมีติดตามตรวจสอบบ่อน ขั้นตอนที่ 

2 สำรวจการปนเปื้อน และขั้นตอนที่ 

3 การฟื้นฟูที่ปนเปื้อนมีตั้งแต่การขุดดินออก เพื่อบำบัดด้วยวิธีทางเคมี ชีวภาพ หรืออาจจะเป็นการควบคุมสารปนเปื้อนป้องกันการแพร่กระจายเป็นวงกว้าง

สุดท้ายย้ำว่าการกำจัดกากของเสียผิดกฎหมายปรากฏขึ้นแล้วภาครัฐต้องสแกนโรงงานเหล่านี้ให้ทำตามกฎหมาย หากพบการฝ่าฝืน ก็จัดการเด็ดขาด ที่สะท้อนผ่านเวทีทางออกกรณีมลพิษหนองพะวา : ภาพสะท้อนปัญหากากอุตสาหกรรมอันตรายไทย จัดโดยมูลนิธิบูรณะนิเวศเพื่อหาทางออกร่วมกัน

สามารถติดตามต่อได้ที่ : https://www.thairath.co.th/news/local/2792925

เว็บไซต์อันดับ 1 ด้านความปลอดภัยในการทำงาน

Copyright @2024  All Right Reserved – Designed and Developed by safety inside