13 กันยายน 2566
เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 24 สิงหาคม 2566 ที่ผ่านมา เกิดเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นที่โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมะ ไดอิจิ ในประเทศญี่ปุ่น ซึ่งก่อให้เกิดความกังวลและความสงสัยในทวีปเอเชีย โรงไฟฟ้านี้ได้ตัดสินใจปล่อยน้ำปนเปื้อนกัมมันตภาพรังสีลงสู่มหาสมุทรแปซิฟิก ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่ก่อให้เกิดความกังวลอย่างมากในสังคมทั่วโลก โดยมีผู้คนต่างกันออกมาประท้วงและประเมินความเสี่ยงต่อมนุษย์และสิ่งมีชีวิตทั่วไป การปล่อยน้ำปนเปื้อน
วันที่ 24 สิงหาคม 2566 บริษัทโตเกียว อิเลกทริก พาวเวอร์ (TEPCO) ผู้ดำเนินการโรงไฟฟ้าฟุกุชิมะไดอิจิ ได้เริ่มต้นการปล่อยน้ำเสียที่ผ่านการบำบัดแล้วลงสู่มหาสมุทรแปซิฟิกเป็นครั้งแรก โดยจำนวนน้ำที่ถูกปล่อยออกมาเป็นจำนวนมากถึง 7,800 ตัน ซึ่งต้องใช้เวลาประมาณ 17 วัน และคาดว่าจะใช้เวลาประมาณ 30 ปีในการปล่อยทั้งหมด ซึ่งการกระทำนี้ถือเป็นก้าวสำคัญในกระบวนการรื้อถอนโรงไฟฟ้านิวเคลียร์นี้
ความปลอดภัย บริษัท TEPCO ได้รายงานว่าก่อนการปล่อยน้ำเสียลงสู่ทะเล ได้ทำการกรองน้ำด้วยระบบ Advanced Liquid Processing System (ALPS) เพื่อกำจัดสารเคมีที่ปนเปื้อนออกไปแล้ว แม้จะมีการกรองด้วยระบบ ALPS แล้ว ยังมีสารทริเทียมซึ่งไม่สามารถจำกัดได้ในปัจจุบัน แต่ TEPCO ได้ยืนยันว่าได้เจือจางสารดังกล่าวด้วยน้ำทะเลในระดับที่ถือว่าปลอดภัยตามมาตรฐานขององค์การอนามัยโลก (WHO)
จากการเกิดเหตุดังกล่าว
ได้สร้างความกังวลให้กับคนไทยเกี่ยวกับความปลอดภัยของอาหารทะเลที่นำเข้าจากญี่ปุ่น แม้กระแสน้ำอุ่นคุโรชิโอะจะไม่ไหลลงมาทางประเทศไทย แต่เมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 2566 รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้ระบุว่า ไทยไม่มีนโยบายที่จะห้ามการนำเข้าอาหารทะเลจากญี่ปุ่น และจะมีการตรวจสอบอย่างเข้มงวด เพื่อรักษามาตรฐานความปลอดภัยให้กับผู้บริโภค นอกจากนี้ นักวิชาการด้านทะเลและสิ่งแวดล้อมจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ยืนยันว่า ความเสี่ยงต่อสุขภาพของคนไทยนั้นน้อยมาก เนื่องจากทะเลไทยห่างจากฟุกุชิมะมากและกระแสน้ำอุ่นคุโรชิโอะไม่ได้ไหลลงมาทางประเทศไทย
สามารถติดตามต่อได้ที่ : https://www.sanook.com/news/9020182/